วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติยูนิโคล่ Uniqlo

ฉบับแปลนะคะ แปลจาก http://www.srilankabusiness.com/explore-export-markets/buyer-profiles/uniqlo ค่ะ ^^  
Uniqlo  ในภาษาอังกฤษอ่านว่า ยู-นิ-โคล่ เป็นผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ค้าปลีก เสื้อผ้าลำลองสัญชาติญี่ปุ่น โดยแต่เดิมนั้นบริษัทเป็นเพียงแผนกใน บริษัท Fast Retailing จำกัดเท่านั้น ซึ่งต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.. 2005 บริษัทยูนีโคลก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้าง มาเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดแยกต่างหาก และถูกเรียกว่า "Uniqlo Co., Ltd." หรือ บริษัทยูนีโคล จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนในส่วนแรกกับตลาดหลักทรัพย์ของโตเกียว(ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวในส่วนแรก คือ บริษัทขนาดใหญ่)
อ้างอิง(Tokyo Stock Exchange Wikipedia) : Stocks listed on the TSE are separated into the First Section for large companies, the Second Section for mid-sized companies, and the Mothers (Market of the high-growth and emerging stocks) section for high-growth startup companies.

Uniqlo เป็นห่วงโซ่การค้าปลีกเสื้อผ้าชั้นนำของญี่ปุ่น ทั้งในด้านของยอดขาย และผลกำไร นอกจากนี้ บริษัท ยังดำเนินกิจการใน จีน ฝรั่งเศส ฮ่องกง มาเลเซีย รัสเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
จุดเริ่มต้นจาก บริษัท โอโงริ โชจิ ได้ก่อกำเนิดขึ้น ใน เมืองอูเบะ จังหวัดยามากูชิ ในเดือนมีนาคม ปี 1949 ซึ่งก่อนหน้านั้นได้ดำเนินกิจการร้านจำหน่ายเสื้อผ้าผู้ชาย ในยี่ห้อ "Men's Shop OS"
ในเดือนมิถุนายน ปี 1984 โอโรงิ โชจิ ได้เปิดร้านเสื้อผ้าลำลองสำหรับชาย และหญิง บนถนนฟูกุโระ มาชิ ย่านนากากุ เมืองฮิโรชิม่า ภายใต้ชื่อ "Unique Clothing Warehouse"(ยูนิค คลอธติ้ง แวร์เฮาส์) ก่อนที่แบรนด์ดังกล่าวจะค่อยๆ หดตัวลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับการถือกำเนิดของชื่อ "Uniqlo" (ยูนิโคล่) จากนั้นในเดือนกันยายน ปี 1991 ชื่อบริษัทได้ถูกเปลี่ยนจาก "Ogori Shōji" (โอโงริ โชจิ) เป็น "Fast Retailing" (ฟาส์ท รีเทลลิ่ง) และในเดือนเมษายน ปี 1994 ยูนิโคล่ก็มี มากกว่า 100 ร้าน ทั่วญี่ปุ่น
Tadashi Yanai ผู้ก่อตั้ง และประธานบริษัท Fast Retailing 
ซึ่งมี Uniqlo เป็นหนึ่งในบริษัทลูก

1997 กลยุทธ์ SPA
ปี 1997 บริษัทได้รับเอากลยุทธ์การผลิตเสื้อผ้าจาก "Gap" บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า "SPA" มาใช้ ซึ่งนั่นหมายถึงบริษัทสามารถผลิตเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง และยังจำหน่ายในร้านค้าของตนเองได้อีกด้วย ยูนิโคล่ เริ่มทำการเอ้าท์ซอร์สการผลิตเสื้อผ้าจากจีน ประเทศที่ซึ่งมีแรงงานราคาถูก ซึ่งนั่นก็เป็นการปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้นขององค์กรอีกอย่างหนึ่ง  ประกอบกับญี่ปุ่นกำลังประสบกับภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ทำให้สินค้าราคาประหยัดแต่ทว่ามีคุณภาพดีได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ขณะที่กลยุทธ์การโฆษณาของบริษัทได้รับการพิสูจน์ว่าเห็นผลได้จริง
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1998 ยูนิโคล่ก็ได้เปิดร้านในย่านฮาราจูกุ ย่านที่เป็นที่นิยมในโตเกียวแห่งแรก และร้านก็ได้แพร่กระจายไปยังเมืองใหญ่ทั่วญี่ปุ่น ใน ปี 2001 ยอดขาย และกำไรขั้นต้นก็ได้ถึงจุดสูงสุดจุดใหม่ และมีมากกว่า 500 ร้านค้าปลีกในญี่ปุ่น  ยูนิโคล่ตัดสินใจที่จะขยายกิจการไปยังต่างประเทศ และได้ก่อตั้ง Fast Retailing (jiangsu) Apparel Co., Ltd. (ฟาส์ท รีเทลลิ่ง เจียงซู แอปปาเรล จำกัด)ขึ้นในประเทศจีน และในปี 2002 ก็ได้เปิดร้านค้าภายใต้แบรนด์ยูนิโคล่ในเซี่ยงไฮ้เป็นแห่งแรก และได้เปิดร้านยูนิโคล่ในต่างประเทศอีก 4 สาขาแรก ที่ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

แต่ยอดขายในประเทศอังกฤษไม่เป็นไปด้วยดีนัก และเกิดภาวะสินค้าล้นคลังในญี่ปุ่น ในปี 2002 และ 2003 กำไรของยูนิโคล่ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ในปี 2004 บริษัทได้เริ่มร่วมธุรกิจกับนิตยสารแฟชั่นของญี่ปุ่น และจ้างคนผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น Norika Fujiwara (โนริกะ ฟูจิวาระ) ได้ปรากฏตัวในโฆษณาของยูนิโคล่ ยูนิโคล่ได้ร่วมงานกับนักออกแบบใหม่หลายคน ซึ่งผลที่ตามมาคือกำไรเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันยูนิโคล่ก็หมดหวังกับสาขาที่อยู่ลอนดอนเช่นกัน ซึ่งการร่วมธุรกิจกับบริษัทแฟชั่นของฟาส์ท รีเทลลิ่ง ก็ช่วยทำให้บริษัทฟื้นคืนกลับมาได้ดีดังเช่นเดิม


ในปี 2005 ก็ได้เห็นการขยายตัวของยูนิโคล่ในต่างประเทศมากขึ้น ด้วยการเปิดร้านค้าในประเทศสหรัฐฯ(นิว ยอร์ก) ฮ่องกง(จิมซาจุ่ย) และเกาหลีใต้(โซล) การขยายตัวของแบรนด์ในเกาหลีใต้ ส่วนหนึ่งมาจากที่พวกเขาร่วมทุนกับ Lotte(ล็อตเต้) ใน ปี 2006 ยูนิโคล่ ถูกพิจารณาให้เข้าไปขยายตลาดในยุโรป หลังจากที่เปิดตัวในสหราชอาณาจักรแล้วมีกำไรที่คงที่ เมื่อสิ้นปี 2005 นอกเหนือจากการถือครองในต่างประเทศแล้ว ยูนิโคล่ยังมีร้านค้าประมาณ 700 ร้านในญี่ปุ่น  ฟาส์ท รีเทลลิ่ง ได้เซ็นสัญญาให้คำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ยูนิโคล่กับ แฟชั่นดีไซเนอร์ Jil Sander(จิล แซนเดอร์) ในเดือน มีนาคม ปี 2009 และ Shiatzy Chen(ซย่าจือ เฉิน) ได้รับการทาบทามจากยูนิโคล่ให้ผลิตแคปซูลคอลเล็กชั่น ที่พร้อมจะเปิดตัวในเดือน พฤศจิกายน ปี 2010 ในขณะที่ร้านยูนิโคล่ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียนอกญี่ปุ่นได้เปิดตัวในกรุงกัวลาลัมเปอร์ในเดือนเดียวกัน


ในวันที่ 2 เดือนกันยายน ปี 2009 บริษัทฟาส์ท รีเทลลิ่ง จำกัด  ได้ประกาศว่า บริษัทจะกำหนดเป้าหมายยอดขายประจำปีไว้คือ  5 ล้านล้านเยน(ประมาณ หกหมื่นหนึ่งพันสองร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐ) และมีกำไรก่อนหักภาษีจากการดำเนินงาน 1 ล้านล้านเยน(หนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในปี 2020 ซึ่งนี่หมายถึงบริษัทมีเป้าหมายที่จะกลายเป็น SPA ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องร้อยละ 20% ต่อ ปี แบ่งเป็น 1 ล้านล้านเยนจากธุรกิจยูนิโคล่ในญี่ปุ่น 3 ล้านล้านเยนจากธุรกิจระหว่างประเทศของตน และ 1ล้านล้านเยน จากธุรกิจแบรนด์ญี่ปุ่น และแบรนด์ระดับโลก เป้าหมายธุรกิจระหว่างประเทศของบริษัท แบ่งเป็น 1 ล้านล้านเยน ในจีน 1 ล้านล้านเยนในประเทศเอเชียอื่นๆ และ 1 ล้านล้านเยนในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
    ยูนิฟอร์มโอลิมปิก และเจลีก นอกจากนี้แล้วยูนิโคล่ยังได้จัดหาชุดยูนิฟอร์มให้นักกีฬาโอลิมปิกของญี่ปุ่นในปี 1998 2002 และ 2004 เช่นเดียวกับยูนิฟอร์มในการแข่งขันเจลีก ของทีม Thespa Kusatsu(เธสปา คูซัทสึ)

ขนาดของบริษัท
ยูนิโคล่มี 234 ร้าน เมื่อ เดือน มกราคม ปี 2012
มีนายจ้าง 30,000 คนในบริษัท (ในปี 2008)

รายละเอียดการติดต่อ บริษัท
สาขาใหญ่โตเกียว มิดทาวน์ ทาวเวอร์, คยูโคม อาลาสก้า,มินาโตะ,โตเกียว,ประเทศญี่ปุ่น



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 สิงหาคม 2564 เวลา 05:51

    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ อ่านได้เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ ^^

    ตอบลบ